วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน

ไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส
1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค

1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548  อ่านต่อ

การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

      ความหมายและความสำคัญการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ
  การประสานประโยชน์ 
             การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
     ผลดีของความร่วมมือระหว่างประเทศ 
             ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศก่อให้เกิดสันติภาพและความเป็นธรรม เกิดการช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เงินลงทุน เทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น      
    ผลเสียของการร่วมมือระหว่างประเทศ
             อาจก่อให้เกิดการกีดกัน นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มได้ อ่านต่อ 
         
      


สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ซึ่งร่างขึ้นโดย องค์กรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองขณะนั้น ระบุไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" มาตรา 26 ถึง 69 ได้บรรยายขอบเขตของสิทธิเฉพาะในบางด้าน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ ศาสนา และเสรีภาพในการแสดงออก


รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันฟื้นสิทธิต่าง ๆ ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รับรองโดยชัดแจ้ง ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้สรุปสิทธิต่าง ๆ เป็นเสรีภาพในการพูด เสรีภาพสื่อ การชุมนุมโดยสงบ สมาคม ศาสนาและขบวนการภายในประเทศและต่างประเทศ อ่านต่อ

สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชนเป็นหลักทางศีลธรรมแจกแจงมาตรฐานบางอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองเป็นสิทธิตามกฎหมายเป็นปกติในกฎหมายระดับชาติและนานาชาติ สิทธิเหล่านี้ "เข้าใจทั่วไปว่าเป็นสิทธิมูลฐานอันไม่โอนให้กันได้ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเองเพียงเพราะเธอหรือเขาเป็นมนุษย์" ฉะนั้น จึงเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งสากล (มีผลทุกที่) และสมภาค (เท่าเทียมสำหรับทุกคน) ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลอย่างสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันระดับโลกและภูมิภาค อ่านต่อ

ข้อตกลงระหว่างประเทศ

      การหารืออย่างเป็นทางการระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของไทยเเละอิสราเอล
กรุงเยรููซาเลม ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

 การหารืออย่างเป็นทางการครั้งเเรกระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของไทยเเละอิสรา-
เอลถูกจัดขึ้น ณ กรุงเยรูซาเลม เืมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

การประชุมจัดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศเเห่งมิตรภาพเเละัความร่วมมือซึ่งสะท้อนให้เห็น
ถึงความสัมพันธ์อันเเน่นเเฟ้นเเละอบอุ่นระหว่างสองประเทศ ในระหว่างการประชุมได้มี
การเเจ้งให้ทราบถึงข้อมูลปัจจุบันใีนระดับทวิภาคี ภูมิภาค เเละพหุภาคี รวมทั้งการส่ง-
เสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในเรื่องต่าง ๆ เช่น เเรงงาน การค้า การเกษตร
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเเละการปฏิบัติการ การเเลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เเละความสัม-
พันธ์ของประชาชนของทั้่งสองประเทศ

คณะผู้เข้าร่วมการหารือจากประเทศไทยนำโดย นายสนั่นชาติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางเเละเเอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ เเละฝ่าย
อิสราเอลนำโดยรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นายซวี กาไบ ผู้เข้าร่วมการหารือ
อื่น ๆ ได้เเก่ ข้าราชการจากกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตร เเละกระทรวงเเรงงาน

ของทั้งสองประเทศ   อ่านต่อ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวเองครอบครัว

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน  ประเทศชาติและสังคมโลก

สาระการเรียนรู้

1.   ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย

2.   กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว

3.   กำหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา

4.   กฎหมายอาญา

5.   โมฆกรรมและโมฆียกรรม

6.   กฎหมายอื่นที่สำคัญ

7.   ข้อตกลงระหว่างประเทศ


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย อ่านต่อ

ปัญหาทางการเมือง

ปัญหาการทุจริตคดโกง


ปัญหาการทุจริตคดโกงในการเมืองไทย เริ่มตั้งแต่การซื้อ-ขายเสียงในการเลือกตั้งเพื่อเข้ามาทำงานในรัฐบาล การที่นักการเมืองต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการเข้าสู่อาชีพและเพื่อการดำรงตำแหน่งโดยผ่านการเลือกตั้ง ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายทั้งในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และการซื้อเสียงเพื่อให้ตนเองได้รับชัยชนะนั้น ก่อให้เกิดเป็นต้นทุนของนักการเมือง ซึ่งเมื่อนักการเมืองได้เข้ามาทำงานในรัฐบาลแล้ว ก็ย่อมหาช่องทางที่จะทุจริตคดโกงเพื่อให้ได้เงินกลับคืนมากกว่าที่ลงทุนไปหลายเท่า อ่านต่อ