วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน

ไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส
1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค

1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548  อ่านต่อ

การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

      ความหมายและความสำคัญการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ
  การประสานประโยชน์ 
             การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
     ผลดีของความร่วมมือระหว่างประเทศ 
             ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศก่อให้เกิดสันติภาพและความเป็นธรรม เกิดการช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เงินลงทุน เทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น      
    ผลเสียของการร่วมมือระหว่างประเทศ
             อาจก่อให้เกิดการกีดกัน นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มได้ อ่านต่อ 
         
      


สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ซึ่งร่างขึ้นโดย องค์กรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองขณะนั้น ระบุไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" มาตรา 26 ถึง 69 ได้บรรยายขอบเขตของสิทธิเฉพาะในบางด้าน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ ศาสนา และเสรีภาพในการแสดงออก


รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันฟื้นสิทธิต่าง ๆ ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รับรองโดยชัดแจ้ง ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้สรุปสิทธิต่าง ๆ เป็นเสรีภาพในการพูด เสรีภาพสื่อ การชุมนุมโดยสงบ สมาคม ศาสนาและขบวนการภายในประเทศและต่างประเทศ อ่านต่อ

สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชนเป็นหลักทางศีลธรรมแจกแจงมาตรฐานบางอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองเป็นสิทธิตามกฎหมายเป็นปกติในกฎหมายระดับชาติและนานาชาติ สิทธิเหล่านี้ "เข้าใจทั่วไปว่าเป็นสิทธิมูลฐานอันไม่โอนให้กันได้ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเองเพียงเพราะเธอหรือเขาเป็นมนุษย์" ฉะนั้น จึงเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งสากล (มีผลทุกที่) และสมภาค (เท่าเทียมสำหรับทุกคน) ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลอย่างสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันระดับโลกและภูมิภาค อ่านต่อ

ข้อตกลงระหว่างประเทศ

      การหารืออย่างเป็นทางการระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของไทยเเละอิสราเอล
กรุงเยรููซาเลม ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

 การหารืออย่างเป็นทางการครั้งเเรกระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของไทยเเละอิสรา-
เอลถูกจัดขึ้น ณ กรุงเยรูซาเลม เืมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕

การประชุมจัดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศเเห่งมิตรภาพเเละัความร่วมมือซึ่งสะท้อนให้เห็น
ถึงความสัมพันธ์อันเเน่นเเฟ้นเเละอบอุ่นระหว่างสองประเทศ ในระหว่างการประชุมได้มี
การเเจ้งให้ทราบถึงข้อมูลปัจจุบันใีนระดับทวิภาคี ภูมิภาค เเละพหุภาคี รวมทั้งการส่ง-
เสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในเรื่องต่าง ๆ เช่น เเรงงาน การค้า การเกษตร
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเเละการปฏิบัติการ การเเลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เเละความสัม-
พันธ์ของประชาชนของทั้่งสองประเทศ

คณะผู้เข้าร่วมการหารือจากประเทศไทยนำโดย นายสนั่นชาติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางเเละเเอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ เเละฝ่าย
อิสราเอลนำโดยรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ นายซวี กาไบ ผู้เข้าร่วมการหารือ
อื่น ๆ ได้เเก่ ข้าราชการจากกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตร เเละกระทรวงเเรงงาน

ของทั้งสองประเทศ   อ่านต่อ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวเองครอบครัว

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง  ครอบครัว  ชุมชน  ประเทศชาติและสังคมโลก

สาระการเรียนรู้

1.   ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย

2.   กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว

3.   กำหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา

4.   กฎหมายอาญา

5.   โมฆกรรมและโมฆียกรรม

6.   กฎหมายอื่นที่สำคัญ

7.   ข้อตกลงระหว่างประเทศ


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย อ่านต่อ

ปัญหาทางการเมือง

ปัญหาการทุจริตคดโกง


ปัญหาการทุจริตคดโกงในการเมืองไทย เริ่มตั้งแต่การซื้อ-ขายเสียงในการเลือกตั้งเพื่อเข้ามาทำงานในรัฐบาล การที่นักการเมืองต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการเข้าสู่อาชีพและเพื่อการดำรงตำแหน่งโดยผ่านการเลือกตั้ง ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายทั้งในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และการซื้อเสียงเพื่อให้ตนเองได้รับชัยชนะนั้น ก่อให้เกิดเป็นต้นทุนของนักการเมือง ซึ่งเมื่อนักการเมืองได้เข้ามาทำงานในรัฐบาลแล้ว ก็ย่อมหาช่องทางที่จะทุจริตคดโกงเพื่อให้ได้เงินกลับคืนมากกว่าที่ลงทุนไปหลายเท่า อ่านต่อ

รัฐ

รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ

1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น

2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ

3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก


4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ  อ่านต่อ

คุณลักษณะพลเมืองดี

คุณลักษณะพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก
1. เคารพกฎหมายและปฎิบัติตามกฎระเบียบ  ข้อบังคับของสังคม
เมื่อพลเมืองทุกคนปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม และบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือไม่กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดก็จะทำให้รัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการป้องกัน  ปราบปรามและจับกุมผู้ที่กระทำความผิดมาลงโทษ 

นอกจากนี้ยังทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบสงบสุขทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ไม่หวาดระแวงคิดร้ายต่อกัน อ่านต่อ

พลเมือง

  การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย หมายถึง การปฎิบัติตนเป็นคนดีโดยยึดหลักประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต เช่น การร่วมกันทำประโยชน์เพื่อความผาสุกแก่ส่วนรวม เคารพซึ่งกันและกัน ช่วยกันทำงานและช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นต้น

     การเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ประกอบด้วยคุณธรรม ๓ ประการ คือ อ่านต่อ

วัฒธรรมไทย

วัฒนธรรม   หมายถึง  วีถีการดำรงชีวิตที่ดีงาม ได้รับการสืบทอดจากอดีตสู่ปัจจุบันเป็นผลผลิตของมนุษย์ที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ทั้งด้านวัตถุ แนวคิดจิตใจ วัฒนธรรมในท้องถิ่นจะเป็นเอกลักษณ์ของสังคมท้องถิ่นนั้นๆ วัฒนธรรมคงอยู่ได้เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และสร้างสรรค์พัฒนาขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง อ่านต่อ

ปัญหาสังคมไทย

         ปัญหาสังคม    หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น

        สาเหตุของปัญหาสังคม

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเป็นค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น
เกิดจากสมาชิกในสังคมบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หรือสมาชิกบางกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนให้ แก่สังคม ทำให้เกิดการขาดระเบียบและเป็นปัญหาทางสังคมขึ้น

เกิดจากการที่กลุ่มสังคมต่าง ๆ มีความคิดเห็นความต้องการและผลประโยชน์ขัดกันไม่ยอมร่วมมือแก้ไขปัญหา ของสังคม เช่น การเอาเปรียบลูกจ้าง เป็นต้น อ่านต่อ

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม


      สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ อ่านต่อ

การขัดเกลาทางสังคม

  การขัดเกลาทางสังคม (Socialization)

      คำที่มักใช้ในความหมายเดียวกัน คือ สังคมกรณ์, สังคมประกิต, การอบรมเรียนรู้ทางสังคม, การทำให้เหมาะสมแก่สังคม
  คำจำกัดความ
          เป็นกระบวนการทางสังคมกับทางจิตวิทยา ซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคม
ต้องการ เด็กที่เกิดมาจะต้องได้รับการอบรมสั่งสอนให้เป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ของสังคม สามารถอยู่

ร่วมและมีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างราบรื่น ทำ ให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงสภาพตามธรรมชาติเป็นมนุษย์ผู้มีวัฒนธรรม มีสภาพต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่น อ่านต่อ

โครงสร้างทางสังคม

ความหมายของโครงสร้างทางสังคม

       โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีแบบแผนในการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โครงสร้าง ของสังคม เปรียบได้กับบ้านเรือนที่เราอาศัยอยู่อย่าง สมบูรณ์ ประกอบด้วย โครงสร้างที่สำคัญหลายอย่าง เช่น คาน หลังคา พื้น ฝา ประตู หน้าต่าง เป็นต้น โครงสร้างของสังคมก็เช่นเดียวกัน ย่อมประกอบด้วยกลุ่มคน สถาบันทางสังคม และสถานภาพ บทบาทของคนในสังคม อ่านต่อ